Skip to content
GitHub Twitter

เศรษฐศาสตร์ความจน (Poor Economics)

Poor Economics

จัดลิ้นชักแล้วเจอโน้ตหนังสือ เศรษฐศาสตร์ความจน (Poor Economics) เลยเอามาบล็อกเก็บไว้

ปัญหาความยากจนนั้นเกิดจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ และปัจจัยสังคม โดยปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การศึกษา ทักษะ และทัศนคติของคนจน ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ หนี้สิน และโอกาสทางธุรกิจ ปัจจัยสังคม ได้แก่ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ นโยบายของรัฐบาล และอคติของคนในสังคม

ข้อมูลบางส่วนที่สรุปได้ มีดังนี้

  • คนจนมีปัญหาเรื่องเก็บออมเพราะเมื่อมีเงินจะหมดไปกับสิ่งของยั่วใจเช่น ขนม เหล้า บุหรี่ ของใช้ไม่จำเป็น
  • การฝันว่าจะมีทีวีดูก็เป็นความหวังอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เก็บออมเงินได้
  • การจะช่วยคนจนคือ การทำให้เขาได้เข้าใกล้เป้าหมายง่ายขึ้นเพื่อที่จะเริ่มมีเป้าหมายแบบคนรวยได้บ้าง
  • สินเชื่อทำให้คนจนมีธุรกิจที่เพิ่มรายได้ประมาณ 10% แต่ไม่ทำให้หลุดพ้นจากความจน
  • คนจนทำธุรกิจเพราะหาอาชีพทั่วไปทำไม่ได้
  • การมีงานที่มั่นคงเปลี่ยนทัศนคติที่คนมีต่อชีวิตได้อย่างสิ้นเชิง
  • คนจนมักขาดข้อมูลสำคัญและเชื่อสิ่งผิดๆจึงตัดสินใจผิดพลาด จึงควรให้ข้อมูลโดยพูดถึงสิ่งที่คนยังไม่รู้ โดยใช้วิธีที่น่าดึงดูดใจและเรียบง่ายทั้งต้องมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
  • คนจนรับผิดชอบมิติต่างๆ ของชีวิตตนเองมากเกินไป ยิ่งรวยเท่าไหร่ ภาระตรงนี้ยิ่งลดลงเพราะมีคนตัดสินใจสิ่งที่ถูกต้องให้
  • มีเหตุให้เชื่อว่าตลาดบางตลาดสำหรับคนจนยังขาดหายไป หรือคนจนต้องจ่ายราคาแพงเกินเหตุ
  • ประเทศยากจนไม่ได้ถูกกำหนดว่าจะต้องล้มเหลวเพราะยากจน หรือเพราะผ่านประวัติศาสตร์ที่เลวร้าย แต่มาจากปัญหา 3 อ. อวิชา อุดมการณ์ และความเอื่อยเฉื่อย
  • ปรากฏการณ์ความคาดหวังสร้างความจริงโดยคาดหวังว่านักการเมืองเห็นแก่ตัวเขาจะเห็นแก่ตัวน้อยลง
  • กับดักความจนอาจไม่มีอยู่จริง
  • การสนับสนุนเงินอาจเป็นโทษ

จากข้อมูลเหล่านี้ แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน อาจทำได้โดย

  • การให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นกับคนจน เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองและหารายได้ที่มั่นคงได้
  • การสร้างโอกาสทางธุรกิจและการสนับสนุนคนจนในการประกอบอาชีพ
  • การปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เอื้อต่อการลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนจน
  • การลดอคติของคนในสังคมต่อคนจน

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจสาเหตุของความยากจนอย่างถ่องแท้ เพื่อให้สามารถกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ