หลายๆคน อาจจะรู้จัก plug-in ตัวนี้ดี เพราะมันติดมากับ wordpress แต่แรกแล้ว แต่วันนี้ผมจะมาแนะนำ เทคนิคการใช้ plug-in ตัวนี้ร่วมกับ Gmail ทำให้การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ก่อนที่จะเริ่มขออธิบายก่อนว่า WordPress Database Backup เป็น plug-in ตัวหนึ่งของ wordpress ที่ช่วยสำรองฐานข้อมูลของ wordpress และฐานข้อมูลอื่นๆของเรา แต่หลังจากที่ wordpress ออกเวอร์ชัน 2.1 ซึ่งผนวก cron เข้ามาใน core file ซึ่ง plug-in เวอร์ชันเดิมไม่รองรับ จึงทำให้มันถูกถอดออก แต่ตอนนี้ทางผู้พัฒนา ได้แก้ไขโค้ดให้ทำงานกับ cron ของ wordpress ได้ ทำให้เราสามารถตั้งเวลา แบ็คอัพได้ง่ายๆ โดย
- ไปดาวโหลด WordPress Database Backup plug-in มาก่อน
- แตกไฟล์ แล้วอัพโหลดไปไว้ที่ /wp-content/plugins/ แล้วก็ activate plug-in
- เข้าไปที่ WP admin -> Manage -> Backup
- เข้าไปจะเป็นส่วนจัดการสำรองข้อมูล ด้านบนจะเป็นการสำรองข้อมูลทันที จะมีตัวเลือก 3 อย่างคือ บันทึกลง server ดาวโหลดมาไว้ที่คอมพิวเตอร์ของเรา และส่งไปที่เมล์ของเรา
- ด้านล่างจะเป็นส่วนของการตั้งตารางการสำรองข้อมูล จะมีตัวเลือก 4 อย่างคือ ไม่ทำ สำรองข้อมูลทุกชั่วโมง สำรองข้อมูลทุกวัน และสำรองข้อมูลทุกสัปดาห์ ซึ่งผมแนะนำให้เลือก สำรองข้อมูลทุกวัน กำลังดีครับ
- หลังจากนั้นให้ใส่เมล์ที่จะให้ระบบส่งไฟล์สำรองข้อมูลไปให้ โดยให้ใส่เป็น ชื่อเมล์ของคุณ+dbbackup@gmail.com (Gmail จะไม่สนใจสิ่งที่อยู่หลังเครื่องหมายบวก)
- พอใส่เมล์เรียบร้อยแล้วก็ submit แล้วไปที่ Gmail ตั้ง filter ให้กรองคำว่า dbbackup จาก ช่อง To: แล้วก็ตั้งให้ Gmail Archive แล้วใส่ label ให้ ซึ่งผมใช้ว่า wpbackup ทีนี้ทุกครั้งที่เมล์ไฟล์สำรองข้อมูล ถูกส่งมามันก็จะถูก Archive แล้วไปอยู่ใน wpbackup label ไม่รก inbox ของเรา
ทีนี้ เราก็จะมีไฟล์สำรองข้อมูลของเราทุกวัน เก็บไว้ในที่ปลอดภัยอย่าง Gmail โดยไม่ต้องมาสั่งสำรองข้อมูลทุกวัน แถมไม่ต้องลบไฟล์สำรองข้อมูลเก่าด้วย เพราะด้วยเนื้อที่ของ Gmail ตอนนี้ คงเก็บไฟล์สำรองข้อมูลได้เป็นสิบปี แต่ผมว่าเดือนนึง ลบไฟล์เก่าทิ้งซักครั้งก็โอเคแล้วครับ