พอดีไปดูคลิป ยีราฟตกลงไปในทรายดูด ของคุณแนทมา เลยนึกถึง 5 Stages of Grief ที่เป็นการตอบสนองทางอารมณ์ ความรู้สึกของคนที่สูญเสียสิ่งที่รัก ไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือสิ่งของ แต่ในปัจจุบันมักถูกใช้ในการอธิบายการตอบสนองของผู้ป่วย ที่รับรู้ว่าตนเองป่วยเป็นโรคร้ายแรง หรือโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เช่น โรคเอดส์ เบาหวาน ไตวายเรื้อรังเป็นต้น
โดยที่มาของ Grief ตามคำบอกเล่านั้น พบว่าเรื่องนี้มีที่มาจากหนังสือเรื่อง “On Death and Dying” ของ Elsabeth Kubler-Ross ที่พูดถึงภาวะของคนที่กำลังจะตาย ซึ่งภายหลังได้เอามาใช้ทางการแพทย์ และเกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงจนกลายเป็น 5 Stages of Grief ในที่สุด
โดย 5 Stages of Grief มีดังนี้
- Denial ปฏิเสธความจริง เช่นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน เริ่มแรกก็จะมีความคิดก่อนว่า หมอตรวจผิดหรือเปล่า ใช่ผลเลือดของผมจริงหรือ มันไม่น่าเป็นไปได้นะ ผมออกจะแข็งแรง อาหารหวานก็ไม่ค่อยได้ทาน จะเป็นเบาหวานได้อย่างไร ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการปกป้องตนเองทางจิตใจ ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งไม่ได้เป็นผลเสียอะไรมาก ถ้าสามารถผ่านขั้นนี้ไปได้ไว แต่ถ้าหยุดอยู่ที่ขั้นนี้นานไป จะทำผลเสียจากโรคมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม เพราะผู้ป่วยอาจจะเปลี่ยนแพทย์ไปเรื่อยๆ เพราะคิดว่าแพทย์ที่วินิจฉัยไม่เก่ง หรือวินิจฉัยผิด ทำให้การเริ่มการรักษาต้องยืดเยื้อออกไป จนโรคดำเนินแย่ลงไปเรื่อยๆ
- Anger เกรี้ยวกราด โมโหคนอื่น ตนเอง และบางทีก็เลยเถิดไปถึงพระเจ้า ว่าทำไมต้องทำให้ตนเองเป็นโรคนี้ด้วย ในใจจะมีแต่คำถามว่า ใครคือคนผิด ใครคือคนที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้
- Bargaining ต่อรอง หลังจากอารมณ์เย็นลงแล้ว คราวนี้จะเริ่มต่อรองกับใครก็ได้ที่เกี่ยวข้อง ไม่เว้นพระเจ้า ว่าช่วยให้ตนเองไม่เป็นโรคนี้ได้มั้ย แล้วตนเองจะทำตัวดี ไม่กินอาหารตามใจปาก ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ จะช่วยเหลือผู้อื่น จะเป็นเด็กดี ก็ว่ากันไป คือในใจจะคิดถึงแต่สิ่งศักสิทธิ์ ถ้าเป็นนิยายก็ประมาณข้ายอมขายวิญญาณให้ซาตาน ถ้ามันทำให้ข้าหายจากโรคนี้ได้
- Depression ซึมเศร้า หลังจากผ่านการต่อรองไปแล้ว คราวนี้จะเกิดการซึมเศร้า เก็บตัว ร้องให้ฟูมฟาย จะเป็นจะตาย ประมาณว่าโลกนี้ช่างไม่น่าอยู่เลย ชีวิตเรามันช่างเลวร้ายเหลือเกิน ซึ่งขั้นนี้ก็เป็นขั้นสำคัญอีกขั้นหนึ่ง ที่อาจจะกินเวลานานมาก และบางทีอาจส่งผลให้มีอาการทางจิตด้วย
- Acceptance ยอมรับความจริงว่าตนเองเป็นโรคนั้น ยอมรับการรักษา และพร้อมที่จะปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
โดยขั้นทั้งหมดนี้ ไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนของการติดอยู่ในแต่ละขั้น และทุกคนไม่จำเป็นต้องผ่านทุกขั้น อาจจะข้ามขั้นก็ได้ แต่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยคือ ผ่านไปถึงขั้นสุดท้ายคือการยอมรับให้เร็วที่สุด เพราะจะทำให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที ไม่ปล่อยให้โรคดำเนินแย่ลงไปเรื่อยๆ ซึ่งหน้าที่นี้ส่วนใหญ่จะเป็นของแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ที่ดูแลผู้ป่วย และคนใกล้ชิด ส่วนเภสัชกรอย่างผมก็เจอบ้าง ตอนที่ต้องอธิบายการใช้ยาให้ผู้ป่วยใหม่ โดยคนที่เจอนี่ก็เป็นไปตามขั้นจริงๆ ทำให้ความสงสัยที่เคยเกิดตอนเรียนเรื่องนี้ว่ามันจะเป็นอย่างนี้จริงหรือ นี่เคลียร์เลย
สำหรับผู้ที่อ่านบล็อกผม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนวัยเดียวกับผม ซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงดี อาจจะไม่ค่อยได้เจอเรื่องแบบนี้ แต่ลองนึงถึงการสูญเสียเล็กๆ น้อยๆ เช่นยางรถแตก ของหาย หรือเป็นหวัดดูครับ จะเห็นว