Protection suits
งานเตรียมยาเคมีบำบัด หนึ่งในงานผลิตยาของเภสัชกรโรงพยาบาล งานที่ตั้งแต่ผมจบมา ยังไม่ได้ทำเลย ภาพที่เห็นข้างบนนี้ จึงเป็นภาพตอนฝึกงานเมื่อ 3 ปีที่แล้ว สิ่งที่ยังจำได้ดี นอกจากเทคนิคการเตรียมยาก็คือขั้นตอนก่อนจะได้เตรียมยานี่แหละ ยุ่งยากมาก ถึงมากที่สุด หมอผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 5 นาทีในการล้างมือ และทำร่างกายให้ปราศจากเชื้อ แต่ผมกว่าจะได้เข้าห้องเตรียมยาจำได้ว่าเร็วสุดก็ปาไป 10 นาทีแล้ว ไหนจะล้างหน้า ล้างมือ ทำความสะอาดถุงมือ ใส่ถุงมือ 2 ชั้น ใส่หมวกคลุมผม ใส่ชุดป้องกัน ใส่หน้ากากสุดรัด ถอดแล้วหน้ายังเป็นรอยอยู่ครึ่งชั่วโมง ทำให้เป็นคนหน้าประหลาดตอนกินข้าวกลางวัน แต่ถึงจะเบื่อก็ต้องทำ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เพราะยาเคมีบำบัดไม่ใช่สิ่งที่ควรเสี่ยงด้วย ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า cytotoxic drug แค่หยดใส่ถุงมือก็หลอนเป็นสัปดาห์แล้ว ดังนั้นสิ่งสำคัญนอกจากการทำให้ยาที่เตรียมไม่ปนเปื้อนแล้ว ก็คือการระวังไม่ให้ยามันมาปนเปื้อนตัวคนเตรียมนี่แหละ (ทั้งการสัมผัส และสูดดม) แต่ในปัจจุบันอาจจะไม่ต้องใส่ชุดรัดกุมขนาดนี้แล้ว เพราะมีการใช้ตู้แบบปิดกันมากขึ้น ใส่เข้าไปแค่มือผ่านถุงมือ อันตรายจากการปนเปื้อนจึงลดลง (ถ้านึกภาพตู้ไม่ออก ให้นึกถึงตู้ใส่เชื้อไวรัสใน MI2) แต่ตอนฝึกงานผมใช้ตู้แบบเปิดก็เลยต้องใส่ชุดรัดกุมแบบข้างบน ไหนๆ ก็พูดถึง งานเตรียมยาเคมีบำบัด จะไม่พูดถึงงานเตรียมสารละลายของยา และอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำก็กระไรอยู่ ในขณะที่งานเตรียมยาเคมีบำบัด […]