Skip to content
GitHub Twitter

Slowing the progression of renal function decline

การชะลอไตของผู้ป่วยให้เสื่อมช้าลง เป็นอีกบทบาทหนึ่งของเภสัชกรในฐานะทีมดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยประเด็นหลักที่ต้องดูแลและจัดการมีตามนี้

  1. Blood Pressure Management: ความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดการเสียหายของไต เราจึงต้องจำเป็นช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมความดันโลหิตให้ได้ ด้วยการให้ได้รับยาที่จำเป็น และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต
  2. Diabetes Control: โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ก็เป็นอีกปัจจัยที่เร่งการเสื่อมของไต นอกจากปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตอย่างอาหารการกินแล้ว ต้องดูแลการใช้ยาอย่างเข้มงวดให้เป็นไปตามแผนการรักษาด้วย
  3. Medication Review: เภสัชกรจำเป็นต้องทวนรายการยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่เสมอ เพื่อเฝ้าระวัง ไม่ให้เกิดการใช้ยาบางตัวที่มีผลกระทบต่อไต โดยการปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมกับการทำงานของไต หรือแจ้งแพทย์ให้หยุดยาพร้อมทั้งเสนอยาหรือหารรักษาทางเลือก
  4. Monitor Protein Intake: การรับประทานโปรตีนมากเกินไป จะทำให้ไตทำงานหนัก ควรแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมอาหาร หรือพบโภชนากรเพื่อปรับเปลี่ยนและวางแผนมื้ออาหาร
  5. Salt Restriction: การจำกัดการบริโภคเกลือช่วยลดทั้งความดันโลหิต และลดผลกระทบต่อไต จึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการรับประททานอาหารที่มีโซเดียมสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารแปรรูปอย่าง แฮม ไส้กรอก หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รวมถึงเครื่องปรุงรสต่างๆ
  6. Hydration: การดื่มน้ำอย่างเพียงพอเป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลการทำงานของไต จึงจำเป็นต้องเน้นย้ำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดวัน ประมาณ 2 - 3 ลิตรต่อวัน หรือคำนวณอย่างละเอียดโดยใช้ Daily Water Intake Calculator
  7. Quit Smoking: บุหรี่ทำร้ายไตอย่างมาก การสนับสนุนให้ผู้ป่วยเลิกบุหรี่เป็นอีกเรื่องที่สำคัญลำดับต้นๆ นอกจากช่วยให้เลิอกได้แล้ว ยังต้องคอยติดตามต่อเนื่อง เพราะผู้ป่วยมักจะกลับไปสูบซ้ำ
  8. Regular Monitoring: ติดตามการทำงานของไตเป็นระยะผ่านการตรวจเลือดเพื่อหาค่าการทำงานของไต (eGFR) และตรวจปัสสาวะเพื่อดูการรั่วของโปรตีน และเมื่อพบการลดลงเร็วผิดปกติ ก็ต้องตรวจถี่ขึ้นกว่าเดิม
  9. Medication Adherence: ดูแลให้ผู้ป่วยใช้ยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง เพราะการลืมรับประทานยาบ่อยๆ ส่งผลต่อการควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังไต
  10. Lifestyle Modification: แนะนำให้ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ตั้งแต่การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก และบริหารความเครียด
  11. Patient Education: สรุปข้อแนะนำทุกข้อ ให้เข้าใจง่าย เป็นขั้นๆ ตั้งแต่ สาเหตุ ปัจจัยความเสี่ยง จนไปถึงการจัดการ เสริมกำลังให้ผู้ป่วยว่าสามารถทำให้ตนเองมีสุขภาพที่ดีได้
  12. Collaboration: ร่วมมือกับทีมโดยให้ข้อมูลเรื่องการใช้ยา และ drug interactions ที่อาจเกิดได้

การชะลอไตให้เสื่อมช้าลง ต้องอาศัยการดูแลเป็นทีม และเน้นไปที่การให้ความรู้และเสริมพลังให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นในการดูแลและจัดการตนเองตามแผนของทีม พร้อมทั้งคอยปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วยอยู่เสมอ

Reference

  1. Slow Progression & Reduce Complications - NIDDK [Internet]. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. [cited 2023 Sep 11]. Available from: https://www.niddk.nih.gov/health-information/professionals/clinical-tools-patient-management/kidney-disease/identify-manage-patients/manage-ckd/slow-progression-reduce-complications